Untitled Document
ทั้งหมด
ด้านวรรณศิลป์
ด้านทัศนศิลป์
ประยุกต์ศิลป์
วิจิตรศิลป์
ด้านศิลปการแสดง
ดนตรีไทย
ดนตรีสากล
นาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์สากล
ภาพยนต์ และละคร
ค้นหาแบบละเอียด
หน้าหลัก > ศิลปินแห่งชาติ > ทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) > คำประกาศเกียรติคุณ
ชื่อศิลปิน:
รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี
สาขา:
ทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์)
สาขาย่อย
: สถาปัตยกรรม
ปีที่ได้รับ:
๒๕๓๗
คำประกาศเกียรติคุณ
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ เป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นสถาปนิกและศิลปินอาวุโสดีเด่น เป็นที่ยอมรับในด้านสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรมแบบไทย ซึ่งในปัจจุบันมีสถาปนิกในด้านนี้น้อยมาก
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในจำนวนสถาปนิกไม่กี่คนในด้านนี้ที่ได้ศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมและสถาปัตยศิลป์แบบไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบประเพณีและแบบใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเอาวิชาการแบบใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์แบบไทยในปัจจุบันได้เป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดี รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรีได้อุทิศตนให้กับงานสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์เพื่อส่วนรวมมาเป็นเวลาเกือบ ๔๐ ปี รับใช้ศาสนาและสังคมด้วยผลงานศิลปกรรม มีผลงานจำนวนมากทั้งในพระราชอาณาจักรและในต่างประเทศ โครงการสำคัญที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการคือ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร ประเทศอินเดีย วัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นสถาปนิกและศิลปินที่อุทิศตนให้กับส่วนรวมในด้านสถาปัตยกรรมและวิชาสถาปัตยศิลป์ เป็นผู้อนุรักษ์สร้างสรรค์ และถ่ายทอดวิชาการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นบุคคลที่มีคุณค่านับอเนกอนันต์ของประเทศ เป็นคนดีมีวิชาที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่งในผลงานและการทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง เป็นศิลปินที่มีคุณธรรมและจริยธรรมทั้งในชีวิตและผลงาน
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
คำประกาศเกียรติคุณ
การศึกษา
การทำงาน
รางวัล & เกียรติคุณ
ไฟล์สัมภาษณ์
ผลงานทั้งหมด
ด้านทัศนศิลป์
ประยุกต์ศิลป์
ประยุกต์ศิลป์
หน้า
จาก
6
หน้า
เรือนไทยหมู่ ณ เมืองคลินตัน
พระตำหนักแปรพระราชฐาน อำเภอปากพนัง
พระอุโบสถ วัดไทยกุสินารามหาวิหาร
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม